อนาคตที่สดใสของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล

      อนาคตที่สดใสของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล

                           
                            ปลานิลเป็นปลาน้ำจืด ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยนับตั้งแต่ปี2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ทุกสภาพของท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในประเทศเขตร้อน  เขตอบอุ่น หรือแม้กระทั่งในเขตหนาว ปัจจุบันความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศยังมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น  ทำให้การส่งออกลดลง ประกอบกับมีข้อจำกัดที่ตลาดส่งออกไม่ต้องการกลิ่นโคลน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงได้ทำการศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล เนื่องจากมีช่องทางที่ตลาดปลานิลสามารถขยายตัวได้มากในอนาคต  และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย
                            ปลานิล เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง  ทั้งในรูปแบบการค้าและเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน  ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  กินอาหารได้แทบทุกชนิด เนื้อมีรสชาติดี ตลาดมีความต้องการสูง  ลักษณะการเลี้ยงมีอยู่ 2 แบบ  คือ การเลี้ยงในกระชังและการเลี้ยงในบ่อดิน  การเลี้ยงปลานิลในกระชังส่วนใหญ่จะเลี้ยงบริเวณริมปหล่งน้ำธรรมชาติที่มีคุณภาพน้ำดี พื้นที่กระชังเฉลี่ย 27.80 ตารางเมตร  และอัตราการปล่อยพันธุ์ปลา  กระชังละ 1,000  ตัว  มีระยะเวลาของการเลี้ยงนาน 5 เดือน ปีหนึ่งจะเลี้ยงได้ประมาณ 2 รุ่น จะใช้อาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยง  ส่วนการเลี้ยงในบ่อดิน ขนาดบ่อเฉลี่ย 8 ไร่ อัตราการปล่อยพันธุ์ปลาประมาณ บ่อละ 24,800 ตัว  มีระยะเวลาของการเลี้ยงเฉลี่ยรุ่นละ 8 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูป ร่วมกับอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และพืชน้ำ  ในการศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง  จำนวน 16 จังหวัด
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีนี้          http://www.oae.go.th/                                                                                                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น